ปัจจุบันคอมพิวเตอร์มีหน่วยประมวลผลอันทรงพลังเพิ่มขึ้นทุกปีและมีขนาดเล็กลงเรื่อยๆ ปัญญาประดิษฐ์(AI) ก็มาพร้อมการประมวลผลอันทรงพลังนี้เช่นกัน AI ทางด้าน Health Care ก็เป็นส่วนหนึ่งที่มีการเติบโตทางด้านเทคโนโลยีได้อย่างรวดเร็ว ตั้งแต่การช่วยเหลือแพทย์ในการผ่าตัด ไปจนถึงพยาบาลเสมือนที่คอยติดตามผลและให้บริการสำหรับผู้ป่วย ซึ่ง ณ วันนี้ AI ทางด้าน Health Care ได้เข้ามาใช้ในการตัดสินใจและวินิจฉัยโรค จนถึงมีการพยากรว่าจะมีการลงทุนทางด้าน AI ในการแพทย์มากถึง 1.8 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2023
ปัจจุบันคอมพิวเตอร์มีหน่วยประมวลผลอันทรงพลังเพิ่มขึ้นทุกปีและมีขนาดเล็กลงเรื่อยๆ ปัญญาประดิษฐ์(AI) ก็มาพร้อมการประมวลผลอันทรงพลังนี้เช่นกัน AI ทางด้าน Health Care ก็เป็นส่วนหนึ่งที่มีการเติบโตทางด้านเทคโนโลยีได้อย่างรวดเร็ว ตั้งแต่การช่วยเหลือแพทย์ในการผ่าตัด ไปจนถึงพยาบาลเสมือนที่คอยติดตามผลและให้บริการสำหรับผู้ป่วย ซึ่ง ณ วันนี้ AI ทางด้าน Health Care ได้เข้ามาใช้ในการตัดสินใจและวินิจฉัยโรค จนถึงมีการพยากรว่าจะมีการลงทุนทางด้าน AI ในการแพทย์มากถึง 1.8 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2023
AI ที่มีการวิจัยในด้าน Health Care ส่วนใหญ่ก็หนีไม่พ้นการวิจัยทางด้านมะเร็ง เนื่องจากเทคโนโลยีในปัจจุบันในการรักษาและวินิจฉัยโรคเป็นไปได้อย่างยากลำบาก มีประเภทของการเกิดมะเร็งกว่า 200 ประเภท รวมไปถึงระยะเวลาที่เกิด การเจริญเติบโตของก้อนเนื้อ และลักษณะของการแพร่กระจาย สอดคล้องกับข้อมูลขององค์กรอนามัยโรค (WHO) เมื่อปี 2018 ก็ยังระบุว่าสาเหตหลักของการเสียชีวิตอันดับต้นๆของโรคเกิดจากโรคมะเร็ง ซึ่งมีผู้เสียชีวิตกว่า 9.6 ล้านคน
AI ทางด้านการวินิจฉัยโรคมะเร็ง
AI สามารถช่วยในการวินิจฉัยโรคมะเร็งได้หลายทาง ตั้งแต่การประมวลผลข้อมูลมากๆ ในเสี้ยววินาที ไปจนถึง AI ที่วิเคราะห์ภาพถ่าย หรือช่วยพยาธิวิทยาในการหาร่องรอยของเนื้อร้ายด้วยความแม่นยำสูง
จากหลายการศึกษาพบว่า AI ในปัจจุบันสามารถมองหาและตรวจจับความผิดปกติได้ดีกว่ามนุษย์ ตัวอย่างเช่นในการแข่งขันที่ผ่านมาในเมืองปักกิ่ง ประเทศจีน ระบบ AI ที่ชื่อว่า BioMind สามารถชนะนักพยาธิวิทยามนุษย์ได้ 2 – 0 ในการแข่งขันวินิจฉัยร่องรอยของเนื้อร้ายในสมอง โดยระบบ BioMind มีความแม่นยำถึง 87% และใช้เวลาเพียง 15 นาที ในการวิเคราะห์ 225 ราย ส่วนทีมผู้เชี่ยวชาญระดับสูงใช้เวลาทำความแม่นยำได้เพียง 66% โดยใช้เวลา 30 นาที และระบบ BioMind ยังสามารถทำนายการขยายตัวของหลอดเลือดในสมองได้แม่นยำ 83% ในขณะที่ผู้เชี่ยวชาญทำได้เพียง 63% แต่ถึงกระนั้นเราก็ยังไม่สามารถสรุปได้ว่าชัยชนะของ AI ในครั้งนี้เป็นบทสรุปว่าเราไม่ต้องการผู้เชี่ยวชาญนการวินิจฉัยโรคอีกต่อไป แต่หมายถึงว่าผู้เชี่ยวชาญสามารถไว้วางใจ AI ได้ว่าสามารถทำงานได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพรวมถึงสามารถช่วยผู้เชี่ยวชาญในการวินิจฉัยโรคที่เป็นงานรูทีนได้ ซึ่งหมายความว่าผู้เชี่ยวชาญก็จะมีเวลาในการพบผู้ป่วยและวางแผนในการรักษามากขึ้น
นอกจากทางด้าการรักษาในสมอง นักวิทยาศาตร์อื่นๆก็มองมุ่งเป้าไปที่การตรวจหามะเร็งลำไส้ใหญ่ ซึ่งสามารถตรวจหาได้ยาก เริ่มต้นจากติ่งที่ก่อตัวในลำไส้ และใช้เวลาหลายปีกว่าที่จะพัฒนาไปเป็นมะเร็ง ซึ่งอาการที่ส่งผลออกมาก็ยากที่จะวินิจฉัยได้ เช่น ลำไส้แปรปรวน ท้องเสีย หรือท้องผูก นักวิจัยเล็งเห็นปัญหานี้จึงได้พัฒนา AI ที่ตรวจหามะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักได้ตั้งแต่เนิ่นๆ และมีความแม่นยำสูงถึง 86%
หรือแม้กระทั่ง Google ได้มี AI ที่ชื่อว่า LYNA เพื่อวินิจฉัยด้านมะเร็งอย่างจริงจังในการตรวจหาการแพร่กระจายของมะเร็งเต้านม เนื่องจากเทคโนโลยีในปัจจุบันอย่างขาดความแม่นยำ จนได้ AI ที่สามารถวินิจฉัยการแพร่กระจายของมะเร็งเต้านมได้แม่นยำ 99%
จะเห็นได้ว่า AI ณ ปัจจุบันมีการความสามารถสูงมาก ในอนาคตหากมีการนำมาใช้งานจริงจะทำให้ชีวิตของมนุษย์มีความปลอดภัยขึ้นมาก โดยเราสามารถตรวจสอบมะเร็งได้เหมือนตรวจสอบโรคปกติบ่อยๆ เพราะมีความรวดเร็ว และต้นทุนที่ถูกลง เมื่อมีความผิดปกติเกิดขึ้นระบบก็จะส่งข้อมูลของเราที่สังเกตได้ยากและมีความแม่นยำสูงให้ผู้เชี่ยวชาญในการวิเคราะห์และแจ้งเตือนเป็นอันดับถัดไป
AI ทางด้านการรักษาโรคมะเร็ง
ในงานวิจัยของประเทศสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ เมื่อเร็วๆนี้แสดงให้เห็นว่า มีการนำเอาข้อมูลของผู้ป่วยมาสร้างแบบจำลองในการทดลองการรักษาที่แตกต่างกันและทำนายการต้านทานการรักษาของมะเร็ง ซึ่งผลของงานวิจัยนี้ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านสุขภาพจะสามารถยกเลิกยาที่ไม่มีประสิทธิภาพและการรักษาที่ไม่ตรงเป้าหมายได้
ทางนักวิทยาศาสตร์ของ MIT ก็ได้สร้าง AI ที่ปรับขนาดของการบริโภคยาเคมีบำบัดและการรักษาด้วยรังสี เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับผลลัพท์ที่ดีที่สุด โดยการจำลองจากผู้ป่วย 50 ราย และใช้เทคนิดทางด้าน Reinforcement learning ในการ Optimize ให้ลดขนาดของเนื้องอกได้เร็วที่สุดโดยปรับการใช้ยาและการรักษาด้วยรังสีให้น้อยที่สุด เพื่อลดความเป็นพิษที่เกิดจากการรักษา
นักวิจัยจาก The University of Surrey และ The University of California ได้ใช้ AI ในการวิเคราะห์ผลข้างเคียงของการใช้เคมีบำบัดในผู้ป่วย เช่น การคลื่นไส้, ความอยากอาหาร, อาการอ่อนเพลีย มึนงง, ฯลฯ รวมทั้งสิ้น 33 อาการ ในผู้ป่วย 1,300 คน เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างการรักษากับอาการที่เกิดขึ้น เพื่อควบคุมการรักษาและปรับหลักสูตรการบำบัดได้อย่างละเอียดสามารถคาดเดาและรับมือได้ดียิ่งขึ้น
สรุป
เหตุผลหลักๆที่ทั้งโลกตื่นตัวในการใช้ AI มาใช้ทางด้านการรักษามะเร็งคือความเร็วการประมวณผล สามารถลดเวลาที่ต้องใช้ในการวินิจฉัยผู้ป่วยหรือวางแผนการรักษาได้อย่างสมดุล ซึ่งผู้เชี่ยวชาญจะมีเวลามากขึ้นในการพูดคุยทำความเข้าใจผู้ป่วย และปรับปรุงประสิทธิภาพของการรักษา
Credits:
https://www.healtheuropa.eu/ai-systems-vs-cancer-diagnosis-treatment-follow-up/91856/
https://www.signifyresearch.net/medical-imaging/ai-medical-imaging-top-2-billion-2023/
https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/cancer
http://fortune.com/2017/10/30/ai-early-cancer-detection/
https://ai.googleblog.com/2018/10/applying-deep-learning-to-metastatic.html
https://www.nature.com/articles/s41592-018-0108-x