ความสำเร็จของธุรกิจ ไม่ว่าจะในระดับ B2B หรือ F2F ก็ล้วนแล้วแต่มีพื้นฐานมาจาก การสื่อสารทั้งสิ้น พวกเรามาทำความรู้จักของการสื่อสารกันดีกว่าครับ ผมขอนำแบบจำลองการสื่อสาร SMCR Model ของ David Berlo Professor of Communication, University of Ilinois ได้กล่าวไว้ว่า การสื่อสารที่ดีตองเป็นการสื่อสารสองทาง (intercommunication) องค์ประกอบของการสื่อสาร มีดังต่อไปนี้ ผู้ส่งสาร (Sender) คือบุคคลที่ป็นผู้ที่มีหน้าที่สื่อสารไปยังผู้รับสาร ผู้สงสารต้องเป็นผู้มีหักษะการสื่อสาร มีหัศนคติที่ดีต่อสาร และผู้รับสาร มีความรู้ในเรื่องที่จะสื่อสารเป็นอย่างดี เข้าใจระบบนิเวศน์ขององค์กร ตลอดจนเข้าใจวัฒนธรรมองค์กรเป็นอย่างดี สาร (Message) คือเนื่อหาที่จะสื่อสารให้กับผู้รับสาร ซึ่งต้องมีการจัดสวนประกอบของเนื้อหา ตั้งแต่การอธิบายความเป็นมาของเนื้อหา วัตถุประสงค์ของการสื่อสารตามเนื้อหา คามสำคัญของเนื้อหามี่มีต่อหน่วยงาน หรีอองค์กรผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ถ้าได้รับการอนุมัติให้ดำเนินการ ช่องทางการสื่อสาร (Channel of Communication) เพื่อให้เกิดความง่ายต่อการเข้าใจซึ่งมักจะมีการผสมผสานที่หลากหลายช่องทาง อาทิ การสื่อสารด้วยวาจา การสื่อสารด้วยภาพ วิดีทัศน์ กราฟ สถิติ ผู้รับสาร […]
Author Archives: GPBS Team
ธุรกิจ มีวัตถุประสงค์ในการแสวงหากำไร การแสวงหากำไรก็มักจะเกิดจากการเจรจาทางธุรกิจซึ่งมักจะเป็นเรื่องของการค้า และ การลงทุน ซึ่งเป็นเรื่องของ B2B ในทางกลับกัน การเจรจาธุรกิจ อีกรูปแบบที่มีความถี่ในการเจรจามากกว่า แบบ B2B คือ แบบ F2F กล่าวคือเป็นการเจรจาแบบ หน่วยงาน กับ หน่วยงานภายในองค์กร หรือ Function to Function อาทิ การเจรจาขอรับคนเพิ่มของฝ่ายขาย กับฝ่ายทรัพยากรบุคคล หรือ การเจรจาการปรับปรุงกระบนการผลิต ระหว่างฝ่ายบริการลูกค้ากับฝ่ายผลิต ขั้นตอนของการเจรจามี 8 ขั้นตอน การเตรียมการ หมายถึง ผู้เจรจาต้องเริ่มต้นจาก ต้องทราบว่าอะไรคือผลลัพธ์ที่ต้องการในการเจรจา กำหนดผู้มีส่วนร่วมในการเจรจา ใครคือผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในการเจรจา จัดทำเค้าโครงเรื่อง (Story Board) เริ่มต้นจากความเป็นมาและความสำคัญของโครงการ, แนวคิด, วิธีการดำเนินการ, ผู้รับผิดชอบ, ระยะ เวลาดำเนินการ, งบประมาณดำเนินการ, ผลประโยชน์ที่จะได้รับ ทบทวนเค้าโครงเรื่อง โดยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญในข้อเสนอนั้นก่อนนำเสนอผู้มีอำนาจตัดสินใจในการดำเนินการ การเจรจากับผู้มีอำนาจตัดสินใจ การปรับปรุงโครงการตามข้อเสนอแนะของผู้มีอำนาจตัดสินใจ นำเสนอผู้มีอำนาจตัดสินใจ ภายหลังการปรับปรุงโครงการเพื่อการดำเนินการต่อไปทำอย่างไรจะเอาชนะใจผู้มีอำนาจตัดสินใจ […]
ภาค 1/3 ทุกคนคงไม่มีใครปฏิเสธว่าอยากเป็นวีระบุรุษ (Heroes) เพราะผู้ที่เป็นวีระบุรุษ จะเป็นผู้ที่ได้รับเกียรติ ได้รับการยอมรับนับถือในวงกว้าง มีความก้าวหน้าในอาชีพ มีค่าตอบแทนที่ดี เราคงเคยได้ยินประโยคที่ว่า “สถานการณ์สร้างวีระบุรุษ” จะเกิดขึ้นจริงหรือไม่ขึ้นอยู่กับ ท่านวางตัวอย่างไรในสถานการณ์นั้น ถ้าวางตัวเป็นผู้ตามสถานการณ์ ก็คงไม่เรียกว่า วีระบุรุษ ในทางกลับกันถ้าท่านวางตัวอยู่ในฐานะผู้นำในสถานการณ์ต่างๆ และสามารถปฏิบัติภารกิจนั้นๆสำเร็จลุล่วงไปตามแผนงานที่วางแผนไว้ ท่านก็จะกลายเป็นวีระบุรุษ ช่องว่างของคำว่า ผู้นำกับความสำเร็จ ก็คือคำว่า ” ปฏิบัติภารกิจ” ประเด็นสำคัญ จะปฏิบัติภารกิจอย่างไรให้เกิดความสำเร็จ จนกลายเป็นวีระบุรุษ จุดเริ่มต้นของการปฏิบัติภารกิจ คือ ท่านต้องวางตัวในฐานะ ผู้นำที่ให้บริการธุรกิจ (Service Leadership) อาจแบ่งประเภทการบริการได้เป็น 3 ประเภท ประเภทที่ 1 : ให้บริการ การพัฒนาบุคลากร ให้มีแนวคิด แบบเถ้าแก่ คือรอบรู้แนวคิดธุรกิจ ทั้งด้านการตลาด การบริหารบุคคล การบริหารการผลิตสินค้า และบริการ การบริหารการเงิน ทั้งนี้เพื่อให้บุคจลากรเข้าใจบริบทของธุรกิจ ประเภทที่ 2 : ให้บริการด้านพัฒนาองค์กร เน้นการออกแบบองค์กร […]
เมื่อเราได้ทีการเตรียมแผนการรองรับการเปลี่ยนแปลงในทุกๆ มิติแล้วนั้น จะแสดงให่เห็นว่าองค์กรของเราได้ให้ความสำคัญ ตั้งแต่หน่วยงานหลังบ้าน จนไปถึงหน่วยงานหน้าบ้าน ซึ่งจะต้องทำงานสอดคล้องไปทิศทางเดียวกัน โดยหน่วยงานที่รับผิดชอบในเรื่องนี้คงหนีไปพ้นหน่วยงานบุคคล หรือหน่วยงานพัฒนาองค์กร จะต้องหา และเลือกสรรเครื่องมือต่างๆ ที่ให้เหมาะสมกับบริบทขององค์กร เครื่องมือดังกล่าวซ้ำๆ จนเกิดเป็นนิสัย หรือนำไปเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนาธรรมขององค์กร และเพื่อให้สอดคล้องกับโลก 4.0 องค์กรควรหาเทคโนโลยีที่เป้นดิจิตอล (Digital) รวมไปถึงปญญาประดิษฐ์ (AI) ที่เข้ามาช่วยให้การทำงานสะดวกมากยิ่งขึ้น ดังนั้น การบริหารจัดการความเปลี่ยนแปลง ถือเป็นสิ่งสำคัญที่หน่วยงานบุคคล หรือหน่วยงานพัฒนาองค์กร จะต้องสร้าง และถ่ายทอดเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งใน DNA ของพนักงานทุกคน โดยเราสามารถใช้หลักทฤษฎีของ John Kotter เป็นแบบอย่างของขั้นตอนการเตรียมแผนรองรับการเปลี่ยนแปลง ที่สำคัญเครื่องมือต่างๆ ที่ได้แบ่งปันกันมาตั้งแต่ ตอนที่ 1-8 เพื่อเป็นการเสริมเกราะป้องกันให้แก่องค์กรควรจะต้องมีการเลือกใช้เครื่องมือต่างๆ ให้เหมาะสมกับบริบท และการทำงาน (Lifestyle) องค์กร โดยสามารถเลือกสรรเครื่องมือต่างๆ ได้ที่ Global Pro Business Solutions
วันนี้ก็จะขอมาแนะนำ เครื่องมือระดมสมองยุคไซเบอร์ กันต่อ โดยเครื่องมือที่นิยมมากก็คือ Mind Mapping แผนผังความคิด คือ เครื่องมือในการช่วยคิดและจดบันทึกที่สอดคล้องกับการทำงานของสมองมนุษย์ เพื่อถ่ายทอดความคิดหรือข้อมูลออกมาเป็นแผนภาพ (Visual Tools) เพื่อให้ง่ายต่อการ ทบทวน ต่อยอด หรือ คิดสิ่งใหม่ๆขึ้น เรามาลองใช้เครื่องมือ Free Online mind map ที่เป็นที่นิยมและฟรี กัน 1. Coggle https://coggle.it/ Coogle ให้เราสามารถสร้าง แบ่งปัน mind map และ flow chart ของเรา เพื่อให้เราและทีมแบ่งปันความคิดและสร้างผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพ VDO introduction 2. GitMind https://gitmind.com/ VDO introduction 3. Sketchboard https://sketchboard.io/ Sketchboard เป็น Online Digital Whiteboard ให้เราสามารถสร้าง mind map ที่ไหนก็ได้ […]
เป็นที่เข้าใจตรงกันว่าประโยชน์ของ Artificial Intelligence หรือ AI ในโลกธุรกิจนั้นมีมากมาย แต่ AI ยังมาเปลี่ยนวิถีการตัดสินใจของผู้นำในองค์กรอีกด้วย การเติบโตของ AI นั้นรวดเร็วและมีผลกระทบอย่างรุนแรงต่อบทบาทของผู้นำในองค์กร AIนั้นใช้เทคโนโลยีอย่าง Machine Learning ซึ่งก็คือระบบที่สามารถเรียนรู้ได้จากตัวเองโดยปราศจากการป้อนคำสั่งของโปรแกรมเมอร์ หรือ Advanced Data Analytics ซึ่งเป็นกระบวนการที่ใช้เทคนิคการสร้างโมเดลขั้นสูง เพื่อทำนายหรือคาดการณ์เหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต หรือใช้ค้นหารูปแบบบางอย่างที่ทั่วไปแล้วมนุษย์ไม่สามารถระบุได้ Advanced Data Analytics สามารถตอบคำถาม เช่น “จะเกิดอะไรขึ้นถ้าแนวโน้มยังเป็นแบบนี้ต่อไป” หรือ “ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดที่เป็นไปได้คืออะไร” ผู้นำองค์กรสามารถใช้โมเดล AI เหล่านี้เพื่อแนะนำถึงสิ่งที่ควรจะทำในหลายๆสถานการณ์ขององค์กร การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีนี้ทำให้เราต้องกลับมาพิจารณาความหมายของคำว่าความเป็นผู้นำในอนาคตกันใหม่ เมื่อมีข้อมูลมากขึ้น AI ก็สามารถตัดสินใจได้แม่นยำมากขึ้น ทำให้ลดทอนบทบาทการตัดสินใจทางธุรกิจที่เป็นกิจวัตร เช่นการสั่งซื่อสินค้า การส่งสินค้า แต่ผู้นำในวันนี้และอนาคตต้องเสริมสร้างทักษะการตัดสินใจที่อาศัย “Human Touch” ซึ่ง AI ทำไม่ได้และในไม่ช้าผลจากการที่องค์กรนำเทคโนโลยี AI เข้ามาอยู่ในกระบวนการทำงาน ทำให้ผู้นำและคนในตลาดงานทั่วโลก ต้องเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ ซึ่งเราสรุป 3 ข้อใหญ่ๆมาให้ดังนี้ 1. […]
เราทุกคนซึ่งเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรล้วนแล้วแต่สามารถช่วยสรรค์สร้างองค์กรให้ดีมีประสิทธิภาพได้ทั้งสิ้น จริงอยู่ที่บางลักษณะงานเป็นดั่งฟันเฟืองที่ต้องหมุนตามงานอื่นๆ แต่ถึงกระนั้นก็อย่าได้ดูถูกคุณค่าของตัวเอง เพราะแต่ละฟันเฟือง ก็มีความคิด ความต้องการและความสร้างสรรค์ เป็นของตัวเอง ดังนั้นอย่าลืมว่า เรามีเป้าหมายในชีวิต มีความคิดสร้างสรรค์เหมือนกัน แม้ว่าเราจะไม่สามารถเปลี่ยนองค์กรให้สมบูรณ์แบบได้ในทันที แต่เราสามารถเริ่มเปลี่ยนตัวเองให้เป็นพนักงานชั้นเลิศได้ก่อนในวันนี้ สำหรับวันนี้ก็อยากจะแนะนำ “ 7 เทคนิควิธีการเพื่อเป็นคนคุณภาพมี Productivity ที่สูง ” ข้อที่ 1 – การวางแผนและปฏิบัติตามแผนอย่างเคร่งครัด เพราะแผนงานคือกรอบความคิดที่เราได้กำหนดไว้แล้วว่าเป็นสิ่งที่สำคัญและควรจะได้รับการปฏิบัติเพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งใจไว้ เมื่อมีแผนแล้วจะต้องแตกแผนใหญ่ออกเป็นแผนย่อย ปฏิบัติและตรวจประเมินเป็นระยะ ข้อที่ 2 – จัดลำดับของงานที่สำคัญว่าจะทำ หลายครั้งที่การทำงานขาดการจัดลำดับความสำคัญ สิ่งที่ได้รับกลับกลายเป็นสิ่งที่ไม่ต้องการในขณะนั้น แต่สิ่งที่ต้องการเร่งด่วนกลับไม่เสร็จหรือยังไม่ได้เริ่มกระทำ ซ้ำร้ายถ้างานนั้นจะต้องเกี่ยวเนื่องหรือส่งต่อให้บุคคลหรือหน่วยงานอื่น ก็อาจทำให้หน่วยงานอื่น ๆ ต้องล่าช้าตามไป ข้อที่ 3 – บริหารการสื่อสารให้เกิดประโยชน์สูงสุด สิ่งที่สำคัญในการลดระยะเวลาในการใช้โทรศัพท์ คือการจัดเตรียมอุปกรณ์ช่วยเหลือให้อยู่ในบริเวณใกล้มือ ไม่ว่าจะเป็นกระดาษโน้ต ปากกา หรือฐานข้อมูลบางอย่างที่จำเป็นต้องตอบคำถามได้ในทันที อีกทั้งในการโทรออกแต่ละครั้ง ก็ควรมีรายการคำถาม หรือหัวข้อที่จะติดต่อให้ครบ จะได้ไม่ต้องติดต่อกันหลายๆรอบ ข้อที่ 4 – ไม่จับปลาสองมือ ข้อนี้ไม่เกี่ยวกับเรื่องการมีกิ๊กแต่อย่างใดทั้งสิ้น แต่เกี่ยวข้องกับการให้ความสำคัญ […]
การบริหารธุรกิจท่ามกลาง ความเปลี่ยนแปลง ในปัจจุบันนับว่าเป็นสิ่งที่ท้าทายสำหรับ ผู้นำองค์กร ทุกระดับชั้น ในการที่จะนำพาองค์กรไปสู่ความอยู่รอดที่มีการ Disruption ทุกวันนี้ ส่วนการจะทำให้ธุรกิจ (Business) อยู่รอดได้อย่างไรนั้น เรามีเครื่องมือที่จะสร้างความ และพร้อมที่จะมีการเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา เครื่องมือการสามารถช่วยให้ธุรกิจดำเนินไปได้ท่ามกลางความไม่แน่นอนในธุรกิจ โดยทำให้ ผู้บริหารระดับสูง ระดับกลาง และระดับต้น สามารถเข้าถึงกลยุทธ์ซึ่งกันและกัน ตามสถานการณ์ต่างๆ ที่ได้จำลองขึ้น รวมไปถึงเป็นเครื่องมือหนึ่งในการคัดกรองผู้ที่จะสืบทอดตำแหน่ง (Successor) หรือผู้ที่ทางองค์กรเล็งเห็นว่ามีศักยภาพ (Talent) ในการที่จะเป็นผู้บริหารต่อไป โดยองค์กรชั้นนำทั่วไป นิยมใช้ ผ่านเครื่องมือ Business Simulation และเมื่อกลุ่มคนเหล่านี้ได้ผ่านเครื่องมือนี้แล้ว เหมาะกับที่จะต้องร่วมกันลงมือกำหนดบริบท และทิศทางการดำเนินงาน โดยองค์กรชั้นนำทั่วไป นิยมใช้ ผ่าน Business Strategy Workshop จากวิสัยทัศน์ ลงไปสู่ Action Plan ได้อย่างเป็นรูปธรรม
ปกติในการทำงานก็จะมีเป้าหมาย ปัญหา หรือสิ่งที่เราคิดคนเดียวไม่ออกและหากคิดได้ก็ไม่แน่ใจว่าจะเป็นวิธีการที่ดีไหม วันนี้จึงอยากแนะนำเครื่องมือระดมสมองเพื่อให้ทุกคนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตการทำงาน การเรียน หรือชีวิตประจำวันกัน โดยวันนี้ขอแนะนำ “แผนภูมิกลุ่มเชื่อมโยง (Affinity Diagram)” แผนภูมิกลุ่มเชื่อมโยงเป็นวิธีที่จะช่วยให้มีความเข้าใจปัญหา และวิธีการแก้ไขปัญหามากขึ้น โดยจะมองภาพอย่างเป็นระบบ รวบรวมข้อมูลจากการบอกด้วยวาจา การคาดการณ์ ความคิดเห็น และเหตุการณ์ที่ไม่เคยพบมาก่อน นอกจากจะมีประโยชน์ในการมองปัญหาแล้ว ยังช่วยส่งเสริมการทำงานเป็นกลุ่ม และการดำเนินงานให้บรรลุภารกิจของกลุ่มด้วย ซึ่งทำได้ง่ายมากเลย ตามขั้นตอนดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 เราต้องตัดสินใจเลือกหัวข้อหรือปัญหาที่ต้องการ ขั้นตอนที่ 2 ทำการเก็บข้อมูลจากการระดมสมองภายในกลุ่ม ไม่ว่าจะด้วยจากคำพูด ความจริง หรือความคิด เราจะเลือกข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อ และเป้าหมายเท่านั้น ขั้นตอนที่ 3 กรอกข้อมูลใส่กระดาษ โดยการเขียนประเด็นจากข้อมูลที่ได้มา ข้อมูล 1 ใบต่อ 1 เรื่อง ให้แต่ละคนเขียนในกระดาษของตัวเองเป็นต้น ขั้นตอนที่ 4 ให้วางกระดาษที่ได้มาทั้งหมด อ่านว่าแต่ละใบมีความคล้ายกันไหม ถ้าใบไหนเขียนสับสนหรือไม่ชัดเจน ให้ทำการเขียนใหม่ แล้วก็แยกเป็นกลุ่มไว้ จากนั้นก็ก็เขียนประโยคสั้นๆ ให้ได้ใจความที่สะท้อนถึงกลุ่มข้อมูลนั้น กระดาษที่ระบุชื่อกลุ่มข้อมูลเราจะเรียกว่า “ใบเชื่อมโยง (Affinity Card)” ขั้นตอนที่ 5 […]
การบริหารจัดการเปลี่ยนแปลง ก็มาถึงด้านที่เป็นหัวใจหลักของการวัดผระสิทธิภาพของการดำเนินธุรกิจนั่นก็คือ ด้านการเงิน (Financial) ด้านนี้ เป็นตัววัดว่าการบริหารจัดการในองค์กรของท่านเป็นอย่างไร โดยองค์กรส่วนมากจะดูจากกำไรจากผลประกอบการเป็นหลัก ซึ่งจะสะท้อนการถึงประสิทธิภาพของการบริหารว่าเป็นอย่างไร โดยการบริหารจัดการเปลี่ยนแปลงด้านการเงิน จะเป็นผลลัพธ์ที่ต้องผ่านกระบวนการตั้งแต่แรกก็คือ การสร้างวัฒนธรรม (Culture/Core Value) กระบวนการทำงาน (Process) การบริหารลูกค้า (Customer) แล้วจึงส่งผลว่ากระวนการที่เราวางแผน และลงมือปฏิบัติมาทั้งหมดนั้น มันได้ผลมากน้อยแค่ไหน โดยใช้ด้านการเงิน (Financial) เป็นตัวสะท้อน จึงจำเป็นจะต้องมีเครื่องมือที่จะช่วยผู้บริหารในการติดตาม (Monitoring) ว่าในส่วนต่างๆขององค์กรที่สัมพันธ์ซึ่งกันและกัน เหมือน Value Chain เป็นอย่างไรบ้าง โดยผู้บริหาร และผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถมองเห็นปัญหา (Root Cause) และร่วมกันกำหนดทิศทางการแก้ไขปัญหา ในเชิง Preventive และ Proactive ไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งทั้งภาครัฐ และเอกชนตลอดจนไปถึงองค์กรชั้นนำทั่วไป นิยมใช้ ผ่านเครื่องมือที่มีชื่อว่า Business War Room หรือสามารถติดตามบทความ >> วอร์รูม (War Room) << จาก link นี้ได้เลยครับ