ด้วยสถานการณ์ covid-19 เป็นสถานการณ์วิกฤตที่ต่างจากเหตุการณ์รุนแรงที่เกิดขึ้นในอดีต ดังนั้นวิธีการตอบสนองต่อสถานการณ์วิกฤตในแบบเดิมๆอาจไม่ตอบโจทย์อีกต่อไป และนี่คือ checklist ในฐานะ CEO หรือผู้นำที่คุณต้องลงมือทำทันที

1. ลงทุนปกป้องพนักงานและลูกค้าของคุณให้ได้มากที่สุด
- ลงทุนดำเนินการตามมาตรการที่ได้มาตราฐานโลกในการดูแลความปลอดภัยของสุขภาพพนักงานและลูกค้า
- สื่อสารต่อพนักงานและลูกค้าถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้นด้วยความโปร่งใส
- ช่วยลดกระจายการแพร่ของเชื้อโรคในทุกทางที่สามารถทำได้

หน้าที่ของ CEO คือทำทุกสิ่งในความสามารถของคุณเพื่อดูแลพนักงานและลูกค้าของคุณ ใช้เวลานี้ในการสร้างความไว้ใจและความจงรักภักดีกับลูกค้าให้คงอยู่แม้สถานการณ์วิกฤตจะผ่านพ้นไปแล้ว
สถานการณ์วิกฤต covid-19 ครั้งนี้จะเปลี่ยนพฤติกรรมของเราทุกคน CEO ในฐานะผู้นำมีหน้าที่ที่จะคิดว่าอนาคตพฤติกรรมของพนักงานและลูกค้าจะเปลี่ยนไปอย่างไร ที่สำคัญบริษัทจะต้องทำอย่างไรเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงและความต้องการที่เกิดขึ้นใหม่นี้
2. วิเคราะห์เหตุการณ์ในอนาคตที่อาจจะเกิดขึ้น (Scenario Analysis) โดยพิจารณาถึงผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับรายได้ รายจ่าย สภาพคล่องของกระแสเงินสด

- วางแผนตามสถานการณ์สภาพเศรษฐกิจมหภาคที่สามารถเกิดขึ้นได้ เช่นการเติบโตเป็น 0 หรือติดลบที่ร้อยละ 5 ว่าจะส่งผลกระทบอย่างไรต่อการลดลงของรายได้ รายจ่าย กำไร เงินทุนหมุนเวียน สภาพคล่องของบริษัท โดยต้องทำแผนไว้อย่างน้อย 4 ไตรมาสข้างหน้า
- มีแผนสำหรับสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุด เช่นเหตุการณ์นี้ไม่เพียงทำให้เศรษฐกิจถดถอย (Recession) แต่อาจทำให้เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ (Depression) แล้วจะส่งผลกระทบอย่างไรต่อรายได้และสภาพคล่องของบริษัท
- วางแผนการเปลี่ยนแปลงทางการดำเนินงานครั้งใหญ่ที่เกิดจากการหดตัวของรายได้ เช่นการตัดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นต่างๆทันที เช่นลดเงินเดือนพนักงาน หรือบริษัทสามารถต้านทานและค่อยๆลดทอนรายจ่ายอื่นๆได้
3. ป้องกันการลดลงของรายได้

- ในจุดเริ่มต้นคุณคำนึงถึงความต้องการของลูกค้าเป็นตัวตั้ง บุคลากร ทุกคนต้อง รู้ และ เข้าใจ เสียก่อนว่า ลูกค้าในปัจจุบันและหลังจากสถานการณ์วิกฤตนี้ เขาเป็นอย่างไรบ้าง โลกของลูกค้าในปัจจุบัน เขามีความแตกต่าง มีความหลากหลายมากขึ้น
- สร้างช่องทางรายได้ทางใหม่ๆเพื่อบรรเทาการลดลงของรายได้หลัก
- หมุนเปลี่ยนทรัพยากรของบริษัทที่ใช้ในการสร้างรายได้ในปัจจุบัน ไปใช้ในการสร้างยอดขายช่องทางอื่นในอนาคต เช่นย้ายพนักงานหน้าร้านมาทำงาน online
4. สร้างระบบการปฏิบัติงานที่มีเสถียรภาพสำหรับความปกติใหม่ (New Normal) หลังจบ COVID-19

- เพิ่มความมั่นคงของห่วงโซ่อุปทาน เพื่อป้องกันการหยุดชะงักงันรอบใหม่ในภูมิภาคอื่นๆ ป้องกันการขาดแคลนของแรงงาน
- เตรียมแผนสำรองสำหรับทุกภาคส่วนของธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นพนักงานแนวหน้า เตรียมเงินทุนและพนักงานสำรอง ปรับปรุงระบบ IT ให้ทันสมัย
5. วางแผนการตัดรายจ่ายเพื่อสำรองเงินสด

- แผนระยะสั้นคือตัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นทั้งหมดเช่น การจ้างคนเพิ่ม ค่าโฆษณา การลงทุนสร้างโรงงานหรือออฟฟิศ
- เตรียมแผนตัดค่าใช้จ่ายอย่างเข้มข้นไว้สำหรับกรณีที่รายได้ลดลงตามสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุด เช่นตัดเงินเดือนผู้บริหาร จุดมุ่งหมายสูงสุดเพื่อรักษาบริษัทไว้ ทั้งหมดนี้อย่าลืมคิดถึงพนักงานและลูกค้าของคุณด้วย
- ในแผนระยะกลาง คุณควรคำนึงถึงการสร้างแผนเพื่อให้บริษัทของคุณ Lean ที่สุด ซึ่งก็คือการสร้างมูลค่าให้กับลูกค้ามากที่สุดโดยใช้ต้นทุนอย่างประหยัดที่สุด เช่นการสร้างระบบอัตโนมัติและใช้คนให้น้อยลงหรือใช้คนทำสิ่งที่มีมูลค่ามากขึ้น
6. วางแผนเชิงรุก นอกเหนือจากการตั้งรับ

- ลงรายละเอียดแผนการที่ทำให้โดดเด่นกว่าคู่แข่งและขยายส่วนแบ่งการตลาดหลังจากจบวิกฤตนี้ เช่น กาวางแผนเตรียมควบรวมกิจการ แผนการสร้างความผูกพันกับลูกค้าผ่านสินค้าและการให้บริการ
- เตรียมตัวสำหรับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ เช่นเตรียมการลงทุนสำหรับการตลาด หรือติดตามแนวโน้มเศรษฐกิจมหภาคอย่างใกล้ชิด
- เตรียมแผนเพื่อให้พร้อมสำหรับการก้าวกระโดดของบริษัทเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญของพฤติกรรมผู้บริโภค โดยเฉพาะพฤติกรรม online
สุดท้ายนี้ วิกฤตที่เรากำลังเผชิญนั้นจะเปลี่ยนอนาคตของพวกเราไปอย่างสิ้นเชิง และเป็นหน้าที่ที่สำคัญของผู้นำที่จะคิดและเตรียมแผนสำรองว่าอนาคตจะเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางใด มีผลกระทบในแง่มุมไหนบ้างต่อพนักงานและลูกค้าของบริษัท และบริษัทต้องเปลี่ยนไปในรูปแบบใดเพื่อการเติบโตและตอบสนองต่อความต้องการในรูปแบบใหม่ของทั้งพนักงานและลูกค้า
ทาง GPBS ยังมีบทความที่มีเนื้อหาสอดคล้องกับเหตุการณ์ Covid-19 อีกหลายบทความอาทิเช่น